วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

My Profile

Hi ! I'm Supawadee Srisuwan. My student number is 5411114011.
My nickanme is Anne. I'm studying in Nakohn Si Thammarat Rajabhat university.
My hometown is Huasai, Nakohn Si Thmmarat.
I like to play guitar in my freetime.
My favorite movies are Harry Potter, Spiderman, and a lot of fantasy movies.
You can contact me on facebook. My facebook is Ann Srisuwan.
Nice to meet you.


วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในประเทศไทย

        

                ผลการสอบทางด้านภาษาของพวกเขาหลังจากการทดสอบระดับชาติ หรือโดยการสอบที่ได้มาตรฐานต่างๆ  อันได้แก่  TOEFL  และ  TOEIC  ยังคงอยู่ไกลจากระดับความพึงพอใจ  ผลงานจากเด็กที่เรียนภาษาที่ไม่น่าพึงพอใจนี้แสดงให้เห็นว่า  ทั้งๆที่มีความพยายาม  อุตสาหะ จากทุกๆหน่วยงานได้มีความวิตกกังวลว่า  การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยนั้นประสบกับปัญหาความก้าวหน้าอย่างเชื่องช้า  ดังนั้นศึกษานิเทศก์  ผู้บริหาร  และนักพัฒนา  ต้องให้ความสนใจโดยทันที  ภายใต้ความต้องการที่จะปรับปรุง  แก้ไข  ELT  ในประเทศไทย  พวกเขาจำเป็นที่จะต้องกระตือรือร้นในการวินิจฉัยถึงกลยุทธ์ในการสอนภาษาอังกฤษในหมู่นักเรียนชาวไทย  ภายใต้ความต้องการของผลวิชาภาษาอังกฤษที่มีอยู่ในระดับชาติ  เทคโนโลยีเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนรอบโลก  เทคโนโลยีนั้นเร็วกว่า  ง่ายกว่า  และสะดวกกว่าในการใช้สื่อรุ่นเก่าอื่นๆ   โดยเฉพาะ  บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนภาษานั้นเพิ่มขึ้นมาในระดับโลกแล้ว  สาเหตุเพราะผู้เรียนภาษาส่วนใหญ่จะใช้อินเทอร์เน็ต    ในการสื่อสารกับนักเรียนผู้อื่นในเวลาเดียวกัน  หรือผู้พูดในภาษาเป้าหมายที่อยู่รอบโลก  

ข้อดีและข้อเสียของการใช้CALL

         ข้อดีของCALL
      - ในการเรียนภาษาได้จัดเตรียมข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้กับนักเรียน
    - ครูสามารถใช้ CALL เพื่อจัดการเข้าถึงที่ง่ายและรวดเร็วต่อแหล่งข้อมูลในการเรียนภาษาที่หลากหลาย  
      - สร้างความสนใจ แรงจูงใจ และความมั่นใจของนักเรียน
      - เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้แสดงความสามารถที่สร้างสรรค์
  - ผู้เรียนสามารถเรียนอย่างกว้างขวางด้วยข้อมูลต่างๆ และส่งเสริมตามที่พวกเขาต้องการ เพื่อให้งานแต่ละคนเกิดความสมบูรณ์ และตอบสนองความต่อความหลากหลายของผู้เรียน 
           ข้อเสียของCALL
     - ค่อนข้างมีราคาสูงของเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในห้องเรียนมีน้อย
     - ใช้เวลาในการลงโปรแกรมเป็นเวลานาน

                   โครงการบูรณาการ CALL การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยไม่สามารถพูดได้ว่าโปรแกรมที่คาดหวังในบริบทของการศึกษาระดับชาติ การศึกษาสามัญ โปรแกรม CALL ที่ใช้ในบริบทรวมถึงโปรแกรมการสอนการฝึกฝนและปฏิบัติ สาธิต การจำลอง เกมส์ การทดสอบ และโปรแกรมการสอนที่มีความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมแก่นักเรียน  จะนำเสนอข้อมูลในหน่วยเล็กๆ ที่มีประโยค กราฟิก และเสียง นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาผ่านทางคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบ พวกเขาได้รับการตอบรับทันที ถ้าคำตอบของพวกเขาไม่ถูกต้อง พวกเขาจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง บทเรียนชนิดนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นที่นิยมมากสำหรับนักเรียนและครู เพราะว่ามีแบบฝึกหัด 
      การฝึกทดสอบเป็นการทบทวนเนื้อหาความรู้เดิมของนักเรียนและยังช่วยให้นักเรียนสามารคงไว้ซึ่งทักษะทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การฟัง เป็นต้น    การกระตุ้นพร้อมให้นักเรียนเกิดการตอบสนองอย่างกระตือรือร้นและการตอบโต้ของนักเรียนถือเป็นขั้นตอนสำคัญของโปรแกรมนี้    
     การสร้างสถานการณ์สมมุติหรือการแก้ปัญหาได้นำมาใช้เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดเชิงวิจารณ์ ทักษะการอภิปราย และทักษะการเขียน  โดยการใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงเพื่อที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง  นักเรียนจะรู้สึกท้าทายในการแก้ปัญหา ที่ประกอบไปด้วยการสันทนาการกับการเรียนรู้   เกมส์ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน ปรกติแล้ว เกมส์ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ความหมายของการเลียนแบบและเกมส์ก็คล้ายๆกัน การเลียนแบบก็คือการเลียนแบบจากสถานการณ์จริง  แต่เกมส์อาจจะไม่เป็นการเลียนแบบจากสถานการณ์จริง นักเรียนสามารถที่จะเรียนรู้กติกา  กระบวนการ รวมทั้งทักษะอื่นๆ

การเรียนโดยอาศัยโปรแกรมCALL      

       Maneekul (1996) ได้ยกตัวอย่างของความพยายามในการค้นหาผลของการมีสิ่งที่เพิ่มเติมในการสอนแบบปกติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพื่อทำให้การสอนได้ผลดีที่สุด รวมถึงทัศนคติในส่วนของคะแนนผลการสอบของนักเรียนไทยก็ดีไปด้วย  การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในการสอนแบบปกติ
       Tongtua (2008) พิจารณาเรื่องนี้ด้วยเช่นกับว่า การพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่าน ในระเบียบการปรับปรุงการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนเพื่อความเข้าใจ,ทดสอบความสำเร็จและสอบถามทัศนคติและทดสอบนักเรียนมัธยมปลาย 20 คน ผลลัพธ์ที่ได้ แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่เรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีการบรรลุถึงผลสำเร็จเป็นอย่างมาก และมากกว่าผู้ที่เรียนโดยใช้หนังสือเรียนเสริม และยังทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนภาษาอีกด้วย 
        Tongpoon (2001) ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมสื่อการสอน แกรมม่า เรื่อง phrasal verbsใช้กับนักศึกษาปี เอกภาษาอังกฤษพบว่านักเรียนมีความสามารถดีขึ้นระหว่างการใช้ CALL ในการเรียนภาษาอังกฤษ
         อินทัต (2003)  ประเมินผล CALL การใช้การสอบ pre – test และ post – test มาเปรียบเทียบกับผลคะแนน post – test สูงกว่า pre – test สรุปว่า CALL นักศึกษามีความสามารถมากขึ้น CALL สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลักสูตรการศึกษาของไทยได้
          Writing  skill  อินทัต (2009)ได้พัฒนาการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ CALL เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน กับนักศึกษา .ตรีของไทย 100 คน ผลที่ได้คือ นักศึกษามีความสามารถเพิ่มขึ้น 
          Gubtapool (2002)  ได้สำรวจกลยุทธ์ของนักศึกษาไทยกับการใช้โปรแกรมการสร้างคำเพื่อช่วยพัฒนาการเขียนได้สำรวจทางการสัมภาษณ์ เอกสารการวิเคราะห์ ผล: โปรแกรมช่วยนักศึกษาพัฒนาการเขียนในหลายเรื่องเช่น capitalization, singular plural forms, subject verb agreement และ punctuation โปรแกรมช่วยตรวจสอบ spelling และ grammar

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หรือ CAI มาจากคำว่า “ Computer-Assisted Instruction” หมายถึง การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ปัจจุบันบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมุ่งเน้นผู้เรียนให้ศึกษาได้ด้วยตนเอง ตามความพร้อม ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล  โดยทั่วไปบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะเป็นสื่อประสม Multimedia ที่นำเสนอได้ทั้งข้อความ กราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย และเสีงเอฟเฟ็กต์  จุดเด่นของบทเทรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้  (Interaction) และสามารถรับผลย้อนกลับ (Feedback) ได้ทันที  นอกจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน “CAI”  แล้วยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการศึกษา และให้ความหมายที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำมาใช้  ได้แก่

CBT (Computer Based Training)    การอบรมที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
CBL (Computer Based Learning)   การเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
CBI (Computer Based Instruction)  การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
CMI (Computer Managed Instruction)   การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน
CAL (Computer Assisted Learning)   คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียน
CALL  (Computer Assisted Language Learning)  คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา
ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
10.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง แก้ปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

The Difficulties and Challenges of Teachers’ Integrating Computer Assisted Instruction into Teaching


1. Summarize CALL in each phase
          1.Behaviorist CALL  เป็นการเรียนการสอนแบบฝึกทำซ้ำๆเพื่อเป็นการกระตุ้นในการรับข้อมูล  ซึ่งตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นติวเตอร์  มีการพัฒนาเป็นระบบ PLATO  เป็นโปรแกรมการสอนในคอม  PLATO ทำงานด้วยฮาร์ดแวร์พิเศษซึ่งประกอบด้วยคำศัพท์  อธิบายหลักไวยากรณ์โดยย่อและแปลภาษา
           
2.Communicative CALL  จะเน้นวิธีการสอนการสื่อสารเป็นสำคัญ  เริ่มต้นตั้งแต่ปี1970และช่วงต้น1980  communicative CALLช่วงแรกๆจะทำหน้าที่เป็นติวเตอร์  เพื่อให้นักเรียนมีตัวเลือก  ควบคุมและผสมผสานเข้าด้วยกัน  นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเเละเป็นเครื่องมืออีกด้วย  ช่วงต่อมาจะทำหน้าที่ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในกระบวนการสร้างคำ  สะกดคำ  หลักไวยากรณ์   ซึ่งจะติดตั้งโปรแกรมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
        
 3.Integrative CALL  เป็นที่รู้จักในช่วง 1980 และช่วงต้น1990  เริ่มบูรณาการทักษะต่างๆไม่ว่าจะเป็นการฟัง  การพูด  การเขียน  และการอ่าน  เทคโนโลยีมีบทบาทในกระบวนการเรียนมายิ่งขึ้น  นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมต่างๆและสามารถสืบหาข้อมูลได้อย่างกว้างโดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร
2. What are trends in educational technology?
       ความสำคัญและเทรนด์ในการเรียนการสอน
         CALL  หาสื่อที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และครูผู้สอนจะต้องประเมินด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
         1.
คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วๆไปในโรงเรียน สถาบันการศึกษาระดับสูง  เพราะฉะนั้นนักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อคอมพิวเตอร์ได้
         2.
การเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆที่อยู่ไกลๆเหมือนกันทั่วโลก
         3.
เทคโนโลยีทางการศึกษาเพิ่มขึ้นทั้งที่บ้านและสังคม
         4.
ความต้องการใหม่  คือ  ครูต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ได้
         5.
เครือข่ายเป็นวิธีการที่เร็วในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
         6.
การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
         7.
ระบบการส่งต่อข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
         8.
เทคโนโลยีถือเป็นการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปการศึกษา
3. What are the principles and factors for applying technology into education?
       ครูต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผู้เรียน ครูต้องตามให้ทันด้วย ปัจจุบันการสอนของครูเปลี่ยนไป ภาระงานของครูมากขึ้น อีกทั้งยังต้องช่วยผู้เรียนให้เรียนรู้ ต้องดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมา ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิด ครูต้องเป็นคน Active ครูต้องเผชิญหน้ากับยุค E ครูต้องปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ครูเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่  
          หลักการที่เน้นในการใช้คอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 
           1. การกระตุ้น ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน 
           2. กระตุ้นให้ผู้เรยนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
           3. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบปัญหา และการแก้ไขปัญหา ตามการเรียนรู้ของผู้เรียน
           4. ให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น ให้ผู้เรียนมาแชร์ความเก่งกัน ช่วยผู้เรีนให้ค้นพบการแก้ปัญหา
           5. ช่วยส่งเสริมเพิ่มพูนชิ้นงานให้ครู ช่วยประหยัดเวลาในการออกแบบหลักสูตรต่าง
4. What is the study like? 
          ให้ทำโครงการเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษา และการสื่อสาร ให้ผลิตสื่อมัลติมีเดีย และใช้ Power Point เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิมพิเศษในใต้หวัน ในระหว่างที่ครูสอน Speaking and Listening ด้วยคอมพิวเตอร์ ครูตั้ง E-learning เพื่อให้นักเรียนโพสงานของตนเองลงไปได้และสามารถไปดูรายงานของกลุ่มอื่นได้ เพื่อแลกเปลี่ยนหรือให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม
          1.ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม4-5คน          
          2.ครูให้หัวข้อ  เพื่อที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนครูก็เปิดCD-ROM          
          3.ครูหาข้อมูล,วิธีการต่างๆให้ผู้เรียนได้ค้นหาข้อมูล          
          4.สมาชิกในกลุ่มมีความรับผิดชอบ  และมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน  เพื่อบูรณาการในการแก้ปัญหา          
          5.ถ่ายวีดิโอเพิ่มเพลงหรือเพิ่มสิ่งอื่นๆ          
          6.รวบรวมขอมูลต่างๆที่สัมภาษณ์          
          7.สมาชิกแต่ละกลุ่มโพสต์งานของตัวเอง          
          8.นำเสนอโดยการใช้วีดิโอหรือ Power point          
          9.ครูและนักเรียนตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
5. What are the difficulties of applying CAI to teaching?
         1. คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ
       2. การเพิกเฉยของผู้บริหาร
       3. ความเชื่อของครู
       4. ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ แต่ใช้ไม่เป็น
       5. ครูมีภาระงานอื่น มากมาย
       6. ความสามารถของผู้เรียนไม่เท่ากัน
       7. ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
6. What are the solutions for the problems of applying CAI to teaching?
       1. เพิ่มคอมพิวเตอร์
       2. สร้างแนวคิด นวัตกรรมใหม่ มาใช้เรียนใช้สอน
       3. พัฒนาการปรับปรุงการใช้คอมพิวเตอร์
       4. ครูเข้าประชุม สัมมนา อบรม มากขึ้น
       5. ลดภาระงานของครู
       6. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
       7. ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล


Expressing Time in English

The best English 1 . The best way to learn English through movies .